Groupwork Set 3

การประเมินการปฏิบัติ – ชิ้นงาน
(Performance-Based / Task-Based Assessment )


คลิกเพื่อชมผลงาน Groupwork Set 3

การประเมินการปฏิบัติ ชิ้นงาน( Performance-Based / Task-Based Assessment )

      เป็นวิธีการประเมินผลการเรียนการสอนที่สามารถวัด ตรวจสอบหรือประเมินผลการเรียนจากการเป็นการให้นักเรียนได้แสดงความรู้ความสามารถที่ได้รับว่านักเรียนมีความเข้าใจมากน้อยเพียงใดใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย การประเมินการปฏิบัติเป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถและทักษะตลอดจน ลักษณะนิสัยในการเรียนของผู้เรียน เพื่อนำข้อมูลที่รวบรวมมาใช้ในการตรวจสอบว่าผู้เรียนสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของการเรียนการสอนที่กำหนดไว้หรือไม่ ลักษณะการประเมินจะประเมินผ่านการพูด การแสดงท่าทาง การสาธิต การทดลอง การแสดงบทบาทสมมติ และอื่นๆ ซึ่งทำให้ผู้ประเมินสามารถใช้การสังเกตเพื่อ ตรวจสอบสิ่งที่ผู้เรียนแสดงออกมาว่ามีความสามารถ ทักษะและคุณลักษณะตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมาย ผู้สอนสามารถบูรณาการ Performance-based Assessment ในกระบวนการเรียนการสอน เพื่อสร้างประสบการณ์ทางการเรียน
        นอกจากนี้ การประเมินผลรูปแบบนี้จะประเมินโดยใช้เกณฑ์รูบิกส์ (Rubics) นั้นเราสามารถศึกษาเกณฑ์การประเมินโครงงานของผู้เรียน ศึกษาวัตถุประสงค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความหลากหลายของผลงานในโครงงาน เช่น การสาธิต การนำเสนอ การคิดวิเคราะห์ และคุณภาพของแหล่งข้อมูล
ขั้นตอนในการสร้างรูปแบบของ Performance-based Assessment task 5 ขั้นตอน คือ
1. ระบุความคิดรวบยอดหลักและทักษะการคิดที่ต้องการวัดผล
2. ระบุชนิดของผลงานที่ต้องการให้ผู้เรียนปฏิบัติ โดยที่อาจจะให้นักเรียนเป็นผู้เลือก
3. กำหนดวัตถุประสงค์ของผลงานที่จะทำ เช่น ให้ข้อมูล โน้มน้าว หรือ กระตุ้น
4. เขียนกระบวนการที่นักเรียนจะใช้
5. ให้คำแนะนำนักเรียนเกี่ยวกับการวัดผลอธิบายเกี่ยวกับรายการที่จะใช้ประเมิน
 สรุปคือ
     รูบริคเป็นเครื่องมือให้คะแนนชนิดหนึ่ง  ใช้ในการประเมินการปฏิบัติงานหรือผลงานของนักเรียน  รูบริคประกอบด้วย  2  ส่วน คือ เกณฑ์ที่ใช้ประเมินการปฏิบัติหรือผลผลิตของนักเรียน  และระดับคุณภาพหรือระดับคะแนน  เกณฑ์จะบอกผู้สอนหรือผู้ประเมินว่าการปฏิบัติงานหรือผลงานนั้น ๆ จะต้องพิจารณาสิ่งใดบ้าง  ระดับคุณภาพหรือระดับคะแนนจะบอกว่า  การปฏิบัติหรือผลงานที่สมควรจะได้ระดับคุณภาพหรือระดับคะแนนนั้น ๆ ของเกณฑ์แต่ละตัวมีลักษณะอย่างไร  รูบริคจึงเป็นเหมือนการกำหนดลักษณะเฉพาะ (Specification)  ของการปฏิบัติหรือผลงานนั้น ๆ ในเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณ  หรือทั้ง  2 ประการรวมกัน  ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับ เป้าหมายของการประเมิน
รูบริคมีกี่ชนิด  รูบริคมี  2 ชนิด  คือ แบบภาพรวม (Holistic) และแบบแยกส่วน  (Analytic) 
รูบริคแบบภาพรวมนั้น ครูต้องให้คะแนนโดยดูภาพรวมของกระบวนการหรือผลงาน ไม่แยกพิจารณาเป็นส่วนๆ (Nitko, 2001)  ในทางตรงกันข้าม  สำหรับรูบริคแบบแยกส่วนนั้น ครูจะให้คะแนนแยกทีละส่วนหรือทีละองค์ประกอบ  แล้วรวมคะแนนแต่ละส่วนนั้นเข้าด้วยกันเป็นคะแนนรวม (Moskel, 2000 ; Nitko, 2001)
รูบริคแบบภาพรวมจะใช้เมื่อต้องการดูคุณภาพโดยรวมมากกว่าจะดูข้อบกพร่องส่วนย่อย ๆ (Chase, 1999) Nitko(2001) กล่าวว่า รูบริคแบบภาพรวมจะเหมาะสมกับการปฏิบัติที่ต้องการให้นักเรียนสร้างสรรค์การตอบสนอง  และไม่มีคำตอบที่ถูกต้องชัดเจน  จุดเน้นของการรายงานคะแนนที่ใช้รูบริคแบบภาพรวมคือ  คุณภาพโดยรวม  ความคล่องแคล่ว  หรือความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาสาระเฉพาะและทักษะ  ซึ่งเป็นการประเมินระดับมิติเดียว (Mertler, 2001)  การใช้รูบริคแบบภาพรวมทำให้กระบวนการให้คะแนนเร็วกว่าการใช้รูบริคแบบแยกส่วน (Nitko, 2001)  ดังนั้น  ครูจึงต้องอ่าน พิจารณาและตรวจสอบการปฏิบัติของนักเรียนโดยตลอด  เพื่อให้รู้สึกรับรู้ถึงภาพรวมว่านักเรียนทำอะไรได้และยังใช้เป็นการประเมินสรุป (Summative) ได้ด้วย  แต่นักเรียนจะได้รับทราบผลสะท้อนกลับน้อยมาก ดังตัวอย่างรูบริคแบบภาพรวมต่อไปนี้

รูบริคแบบแยกส่วน นิยมใช้เมื่อต้องการเน้นชนิดหรือลักษณะเฉพาะของการตอบสนอง (Nitko, 2001)  นั่นคือ ใช้สำหรับการปฏิบัติงานที่ยอมรับการตอบสนอง 1 หรือ 2  ลักษณะ และความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการตอบสนองของนักเรียน  นอกจากนี้  ผลลัพธ์ขั้นต้นจะมีคะแนนหลายตัว  ตามด้วยคะแนนรวม    ซึ่งใช้เป็นตัวแทนการประเมินหลายมิติ (Mertler, 2001) การใช้รูบริคแบบแยกส่วนทำให้กระบวนการให้คะแนนช้า เนื่องจากเป็นการประเมิน
 อ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น: